การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

          การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และสรุปผลการเรียนรู้ ให้ถือปฏิบัติดังนี้

ระดับประถมศึกษา

การประเมินผลกำรเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา

          การประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้กรายวิชา ระดับประถมศึกษา กำหนดให้มีการ ประเมินผลการเรียนของผู้เรียน 4 ครั้ง ได้แก่ ภาคต้น 2 ครั้ง และภาคปลาย 2 ครั้ง โดยสรุปผลการเรียน เป็นรายปี มีรายละเอียด ดังนี้

  1. การประเมินผลกำรเรียนครั้งที่ 1 – 4
  2. การประเมินผลการเรียนครั้งที่ 1 – 4 เป็นการประเมินผลการเรียนตามตัวชี้วัดกผลการเรียนรู้ ของหลักสูตร ซึ่งแต่ละครั้ง มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
    • การกำหนดตัวชี้วัดกผลการเรียนรู้ในการประเมินผล
    •           การกำหนดตัวชี้วัดกผลการเรียนรู้ในการประเมินผล ให้กำหนดตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ ใน การประเมินผลการเรียนในครั้งที่ 1 – 4 โดยเมื่อประเมินผลการเรียนครบทั้ง 4 ครั้งแล้วต้องมีการประเมินครบทุก ตัวชี้วัดกผลการเรียนรู้ ซึ่งบางตัวชี้วัดกผลการเรียนรู้ อาจมีการประเมินมากกว่า 1 ครั้ง
    • การกำหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างเรียนกับคะแนนหลังเรียน
    •           การกำหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างเรียนกับคะแนนหลังเรียนให้แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชากำหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างเรียนกับคะแนนหลังเรียนตามธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาโดยให้ความสำคัญของคะแนนระหว่างเรียนมากกว่าคะแนนหลังเรียน เช่น 60:40 70:30 หรือ 80:20
    • การประเมินระหว่างเรียน (Formative Assessment)
    •           การประเมินระหว่างเรียน ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ การประเมินตัวชี้วัดกผลการเรียนรู้ และการประเมินพฤติกรรมการเรียน
                การกำหนดสัดส่วนคะแนนตัวชี้วัดกผลการเรียนรู้ กับคะแนนพฤติกรรมการเรียนให้นำ คะแนนระหว่างเรียนแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ คะแนนพฤติกรรมการเรียน 10 คะแนน และคะแนนที่เหลือเป็น คะแนนตัวชี้วัดกผลการเรียนรู้ เช่น สัดส่วนคะแนนระหว่างเรียนกับคะแนนหลังเรียน เป็น 70:30 ให้น าคะแนน 70 คะแนน มาแบ่งเป็นคะแนนพฤติกรรมการเรียน 10 คะแนน กับคะแนนตัวชี้วัดกผลการเรียนรู้ 60 คะแนน
กำรประเมินตัวชี้วัด/ผลกำรเรียนรู้
          การประเมินตัวชี้วัดกผลการเรียนรู้เป็นการประเมินผลย่อยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้ วิธีการและเครื่องมือการประเมินที่หลากหลาย เน้นการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) เช่น การท าแฟ้มสะสมงาน การท างานที่เน้นการปฏิบัติ การท ารายงาน การสร้างผลงาน การทดสอบย่อย และ การทดสอบรายหน่วยการเรียนรู้ เป็นต้น
          การประเมินตัวชี้วัดกผลการเรียนรู้ของแต่ละครั้งในครั้งที่ 1 – 4 ต้องประเมิน 3 ด้านดังต่อไปนี้
  1. ด้านความรู้กความคิด (Knowledge – K) เป็นการประเมินความรู้ ความคิดของนักเรียนตาม สาระของตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้กรายวิชา ซึ่งประเมินได้ 6 ระดับ ได้แก่ ความจ า (Remember) ความ เข้าใจ (Understand) การประยุกต์ใช้ (Apply) การวิเคราะห์ (Analyze) การประเมินค่า (Evaluation) และความคิดสร้างสรรค์ (Creative)
  2. ด้านทักษะกกระบวนการ (Process – P) เป็นการประเมินทักษะหรือกระบวนการทำงานของ นักเรียนตามสาระ หรือธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้กรายวิชา เช่น ทักษะการเขียน ทักษะการคิดคำนวณ ทักษะการสืบค้นข้อมูล กระบวนการคิด กระบวนการทำงานกลุ่ม เป็นต้น
  3. ด้านคุณลักษณะ/เจตคติ (Attribute/Attitude – A) เป็นการประเมินคุณลักษณะหรือเจตคติ ของนักเรียนตามสาระ หรือธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้กรายวิชา เช่น การยอมรับความคิดเห็นของ ผู้อื่น การเป็นผู้นำ และความซาบซึ้งในคุณค่าของวรรณคดี เป็นต้น
          ผลการประเมินบางตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้สามารถให้คะแนนได้ครบทั้งด้านความรู้/ความคิดทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะ/เจตคติ แต่บางตัวชี้วัดกผลการเรียนรู้อาจให้คะแนนได้ไม่ครบทุกด้าน
          กลุ่มสาระการเรียนรู้กรายวิชาต้องกำหนดสัดส่วนคะแนนทั้ง 3 ด้าน อย่างเหมาะสมตามธรรมชาติ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้กรายวิชา ซึ่งเมื่อรวมแล้วต้องได้เท่ากับคะแนนตัวชี้วัดกผลการเรียนรู้ ที่กำหนดไว้ เช่น กำหนดด้านความรู้กความคิด : ด้านทักษะกกระบวนการ : ด้านคุณลักษณะ/เจตคติ เป็น 30:20:10 ซึ่ง เมื่อรวมแล้วได้ 60 คะแนน ตามคะแนนตัวชี้วัดกผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้


          ผู้เรียนทุกคนต้องผ่ำนทุกตัวชี้วัด/ผลกำรเรียนรู้ เกณฑ์ที่ใช้ในกำรตัดสินผลกำรประเมินผลกำร เรียนรู้ระหว่ำงเรียน ให้แต่ละกลุ่มสำระกำรเรียนรู้พิจำรณำตำมควำมเหมำะสม เช่น ร้อยละ 50 ร้อยละ 60 หรือ ร้อยละ 70 แต่ผู้เรียนทุกคนต้องผ่ำนทุกตัวชี้วัด/ผลกำรเรียนรู้ ตำมเกณฑ์ขั้นต่ ำร้อยละ 50 หำก “ไม่ผ่ำน” เกณฑ์ขั้นต่ ำ หรือได้คะแนนรวมทุกตัวชี้วัด/ผลกำรเรียนรู้ ไม่ถึงร้อยละ 50 ของคะแนน เต็ม ผู้สอนต้องหำแนวทำงในกำรแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียนให้สำมำรถผ่ำนตัวชี้วัด/ผลกำรเรียนรู้นั้น เมื่อนักเรียนได้รับกำรซ่อมเสริมจนผ่ำนแล้วให้ได้คะแนนร้อยละ 50 ของคะแนนเต็มเท่ำนั้น

การประเมินพฤติกรรมการเรียน
          การประเมินพฤติกรรมการเรียนในครั้งที่ 1 – 4 แต่ละครั้งมีคะแนนเต็ม 10 คะแนนโดยให้แต่ละกลุ่ม สาระการเรียนรู้/รายวิชา พิจารณาเลือกหัวข้อที่สอดคล้องกับธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา จ านวนไม่น้อยกว่า 3 หัวข้อ ดังต่อไปนี้
  1. ตรงต่อเวลา
  2. ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  3. ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
    • ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
    • ให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็น
  4. มีความรับผิดชอบ
    • เข้าเรียนสม่ำเสมอ
    • นำอุปกรณ์การเรียนมาครบถ้วนสม่ำเสมอ
    • ทำงานครบถ้วน
    • ส่งการบ้านกงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด
  5. ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
    • การประเมินหลังเรียน (Summative Assessment)
    •           การประเมินหลังเรียน เป็นการวัดและประเมินผลรวมเพื่อตัดสินผลการเรียนของผู้เรียน ทั้งด้านความรู้กความคิด ทักษะกกระบวนการ และคุณลักษณะกเจตคติ โดยใช้แบบทดสอบหรือแบบวัดการ ปฏิบัติ ตามตัวชี้วัดกผลการเรียนรู้ของแต่ละครั้งในครั้งที่ 1 - 4
                ผู้สอนต้องกำหนดคะแนนเต็มของการประเมินหลังเรียนตามที่กำหนดสัดส่วนไว้ เช่น สัดส่วนคะแนนระหว่างเรียนกับคะแนนหลังเรียน เป็น 70:30 คะแนนเต็มของการประเมินระหว่างเรียนคือ 70 และการประเมินหลังเรียน คือ 30
                การประเมินหลังเรียน เป็นการวัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียนของผู้เรียน คะแนนที่ผู้เรียนได้ถือว่าเป็นผลการเรียนรู้จริงของผู้เรียน แม้ว่าผู้เรียนสอบได้คะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม ไม่ต้องสอบแก้ตัว
                กรณีที่ผู้สอนมีความเห็นว่าจ าเป็นต้องสอนซ่อมเสริมให้กับผู้เรียน สามารถด าเนินการสอน ซ่อมเสริมและสอบซ่อมได้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจแล้วให้คะแนนร้อยละ 50 ของคะแนนเต็มโดย บันทึกคะแนนสอบแก้ตัวเก็บไว้ แต่ไม่ต้องแก้ไขคะแนนสอบ เพื่อให้การประเมินหลังการเรียนสะท้อน ความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน คะแนนสอบแก้ตัวที่บันทึกไว้จะน ามาใชเ้มื่อผู้เรียนมีระดับผลการเรียนตาม กลุ่มสาระการเรียนรู้กรายวิชาตลอดปี ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 50 (คะแนนเฉลี่ยครั้งที่ 1 - 4 ได้ 0 – 49.99 คะแนน) เพื่อใช้แสดงเป็นระดับผลการสอบแก้ตัว (แก้จาก ระดับผลการเรียนจาก 0.0 เป็น 1.0)
    • การสรุปผลการเรียนครั้งที่ 1 – 4
    •           การสรุปผลการเรียนของแต่ละครั้งในครั้งที่ 1 – 4 เป็นการรวมคะแนนระหว่างเรียนกับ คะแนนหลังเรียน ซึ่งแต่ละครั้งมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน
การกำหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างเรียน กับ คะแนนหลังเรียน แสดงได้ดังตาราง ต่อไปนี้

สัดส่วนคะแนน

ระหว่ำงเรียน : หลังเรียน

Formative : Summative

คะแนนระหว่ำงเรียน (Formative)

คะแนนหลังเรียน

(Summative)

กำรเรียนรู้ตำม

ตัวชี้วัด/ผลกำร

เรียนรู้ (KPA)

พฤติกรรมกำรเรียน
60 : 40 50 10 40
70 : 30 60 10 30
80 : 20 70 10 20
          การสรุประดับผลการเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาตลอดปี
          การสรุประดับผลการเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้กรายวิชาตลอดปี เป็นการแสดงระดับผลการ เรียนของผู้เรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้กรายวิชาตลอดปีการศึกษา โดยการน าคะแนนที่ได้จากการประเมิน ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 มารวมกัน เพื่อหาค่าเฉลี่ยร้อยละ แล้วน าไปเทียบกับเกณฑ์ 8 ระดับ ดังตาราง
ค่ำเฉลี่ยร้อยละ ระดับผลการเรียน ความหมาย
80.00 – 100 4.0 ดีเยี่ยม
75.00 – 79.99 3.5 ดีมาก
70.00 – 74.99 3.0 ดี
65.00 – 69.99 2.5 ค่อนข้างดี
60.00 – 64.99 2.0 ปานกลาง
55.00 – 59.99 1.5 พอใช้
50.00 – 54.99 1.0 ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ
0 – 49.99 0.0 ไม่ผ่านเกณฑ์

          กรณีที่เมื่อเทียบกับเกณฑ์แล้วผู้เรียนไม่ผ่านเกณฑ์ คือ ได้ค่าเฉลี่ยไม่ถึงร้อยละ 50.00 จัดให้มีการ สอบแก้ตัว (สามารถนำผลการสอบแก้ตัวที่ดำเนินการในข้อ 1.4 มาใช้ได้) และเมื่อสอบผ่านแล้วให้ได้ระดับ ผลการเรียน (แก้ไข) 1.0 โดยผู้เรียนต้องลงทะเบียนการสอบแก้ตัว

การสรุประดับผลการเรียนตลอดปี
          การสรุประดับผลการเรียนตลอดปี เป็นการแสดงระดับผลการเรียนของผู้เรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้กรายวิชาตลอดปีการศึกษา โดยการนำระดับผลการเรียนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้กรายวิชา คูณกับน้ำหนักของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้กรายวิชา นำผลที่ได้มารวมกัน แล้วหารด้วยน้ำหนักรวมของแต่ ละกลุ่มสาระการเรียนรู้กรายวิชา คิดทศนิยม 2 ตำแหน่ง โดยไม่ปัดทศนิยม